top of page

โรคซึมเศร้า

       เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน

—Pngtree—melancholic girl_5919881.png
การรักษา

      เนื่องจากอาการซึมเศร้าเกิดได้จากทั้งมีปัญหาด้านจิตสังคมและเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ดังนั้น การรักษาโรคซึมเศร้าที่ดีที่สุดคือการรักษาทางการแพทย์ร่วมกับการรักษาทางจิตใจ การรักษาทางการแพทย์ ประกอบด้วย การให้ยาต้านเศร้า การรักษาด้วยไฟฟ้า (ในรายที่มีอาการรุนแรง) การให้ยาต้านโรคจิต (กรณีมีประสาทหลอน หลงผิดร่วมด้วย) ส่วนการรักษาทางจิตใจ ได้แก่ จิตบำบัด การให้การปรึกษาแก้ไขปัญหาสังคมจิตใจ และการเรียนรู้ ทักษะจัดการความเครียด สำหรับอาการซึมเศร้าระดับน้อย การออกกำลังกาย 30-45 นาที (เป็นแบบแอโรบิกก็ยิ่งดี) อย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จะช่วยให้ดีขึ้นได้จากการวิจัยพบว่าได้ผลดีพอๆ กับการใช้ยา ถ้าออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานานพอ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาต้านเศร้า

     ยาต้านเศร้าโดยทั่วไปมีฤทธิ์ระงับอาการซึมเศร้า แต่ก็สามารถช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคได้ด้วย โดยการที่ยาจะไปช่วยปรับความสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าที่จะทำให้อารมณ์เศร้าหายไป กลับมาเป็นปกติ หลังรับประทานยาไป 2-3 วันแรก จะทำให้หลับได้ดีขึ้นและจิตใจสงบลง ลดความหงุดหงิด กระวนกระวายใจ บางคนอาจยังรู้สึกเพลียอ่อนแรงหลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ อารมณ์ก็จะดีขึ้นจิตใจสดชื่น แจ่มใสขึ้น บางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 8 สัปดาห์กว่ายาจะออกฤทธิ์เต็มที่ ดังนั้น ในการรักษาอาการซึมเศร้าไม่ควรคาดหวังเห็นผลในทันที หลังจากอาการซึมเศร้าหายดีแล้วก็ยังต้องรับประทานต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันการกลับซ้ำของโรค โดยทั่วไปจะต้องรับประทานยาต่อไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี แล้วแพทย์จึงจะลดยาลงเรื่อยๆจนในที่สุดหยุดยาได้ เมื่อรู้สึกว่าอาการซึมเศร้าดีขึ้นแล้วไม่ควรหยุดยาเอง เพราะจะทำให้อาการกำเริบหรือกลับเป็นซ้ำ การหยุดยาทันทีจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

bottom of page